งานช่างประเภทต่างๆ ใช้ปั๊มลมแบบไหนดี ?
คำถามโลกแตก ที่ว่าปั๊มลมแบบไหนดีที่สุด คำตอบสำหรับผู้เขียนก็คือไม่มีปั๊มลมลมที่ดีที่สุด มีแต่ปั๊มลมแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานของเรามากกว่า คำว่า “งานช่าง” เป็นคำสั้นๆ แต่ความหมายช่างกว้างมากมายเหลือเกิน อีกทั้งยังมีอุปกรณ์ลมไม่น้อยที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ปั๊มลมสำหรับงานช่างควรเลือกปั๊มลมแบบไหนดี เราคงจะแบ่งแยกตามประเภทของงานต่างๆ ในบริบทที่แตกต่างกันไปเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเลือกปั๊มลมที่เหมาะสมได้
1.) ปั๊มลมสำหรับงานช่างไม้
ช่างไม้ก็จะถูกแบ่งย่อยไปอีกหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็นช่างที่ทำเกี่ยวกับงานเบาะ งานเฟอร์นิเจอร์ หรือช่างบิ้วอินตกแต่งภายใน อุปกรณ์ลมที่จะต้องใช้ด้วยบ่อยๆก็คือ ปืนลม กาพ่นสี เครื่องยิงแม็กลม ซึ่งงานช่างไม้หรือช่างบิ้วอิน จะไม่ใช่งานที่ใช้ลมเยอะมาก ต้องการปั๊มลมที่ผลิตลมที่มีแรงดันประมาณ 5-7 บาร์ เพื่อยิงตะปูลมและแม็กลม รวมถึงงานพ่นสีและเคลือบเงาบนวัตถุที่ไม่ใหญ่มาก ปั๊มลมออยฟรีหรือปั๊มลมโรตารี่ขนาดประมาณ 50 ลิตร จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ทั้งในแง่ของการใช้งานและการพกพา ขนาดที่กะทัดรัด ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป จึงเป็นปั๊มลมที่นิยมของสายงานนี้ ถ้าหากทำงานในที่โล่งกว้าง ถ้าต้องการประหยัดงบปั๊มลมโรตารี่ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่ถ้าหากเป็นงานในสถานที่ปิด เช่นคอนโด หรือทาวน์เฮ้าส์ ควรเลือกปั๊มลมออยฟรีเพื่อไม่ให้มีเสียงรบกวนบริเวณใกล้เคียง ดูตัวอย่างปั๊มลมออยฟรีสำหรับงานไม้และงานเฟอร์นิเจอร์ได้ที่ https://youtu.be/f_tUAqUE2A8
2.) ปั๊มลมสำหรับงานช่างประเภทอู่ อู่ซ่อมรถมีหลายขนาด แบ่งตามประเภทของรถโดยมีขนาดดังนี้
2.1 อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ ควรใช้ปั๊มลมลูกสูบขนาด 1/2 แรงม้า ขนาดถังลมความจุประมาณ 80 ลิตรขึ้นไป ปั๊มลมขนาดนี้ทำงานด้วยเสียงที่ไม่ดังมากจนเกินไป ผลิตลมได้แรงดันที่เหมาะสมกับงานซ่อมจักรยานยนต์ ประมาณ 5-8 บาร์ ครอบคลุมทุกการใช้งานไม่ว่าจะเป็นงานเติมลม งานถอดล้อ หรืองานพ่นสีอะไหล่ขนาดต่างๆ ดูตัวอย่างปั๊มลมสำหรับงานอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ที่ https://youtu.be/mYKM5BnFhC8
2.2 อู่ซ่อมรถยนต์และรถกระบะ ควรเลือกใช้ปั๊มลมลูกสูบที่มีขนาด 2 แรงม้าขึ้นไป ขนาดถังลมความจุไม่ควรต่ำกว่า 150 ลิตร และควรทำแรงดันได้ไม่ต่ำกว่า 8-10 บาร์ โดยเฉพาะการเติมลมให้กับรถกระบะที่ใช้ในงานขนส่ง จำเป็นต้องใช้ปั๊มลมที่ทำแรงดันได้ 12 บาร์ขึ้นไป และต้องใช้บล็อกลมขนาด 3/4 นิ้ว
2.3 อู่ซ่อมรถบรรทุก ต้องใช้ปั๊มลมขนาด 3 แรงม้า ที่ทำแรงดันได้สูงกว่า 14 บาร์และใช้ความจุของถังลมค่อนข้างเยอะ ควรมีขนาดถังลมไม่ต่ำกว่า 250 ลิตร ซึ่งอาจจะทำได้แค่ถอดน็อตล้อได้เพียงแค่ 2-3 ตัวต่อเนื่องเท่านั้น ถ้าหากเป็นอู่ขนาดใหญ่ มีลูกค้าใช้บริการจำนวนมาก ก็ควรเลือกปั๊มลมขนาด 10 แรงม้า ความจุถังลม 500 ลิตรขึ้นไป เพื่อที่จะถอดล้อได้รวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน
3.) ปั๊มลมสำหรับงานพ่นสี สำหรับงานพ่นสีก็มีหลายระดับขึ้นไป ซึ่งก็มีความต้องการของลมที่แตกต่างกัน
3.1 งานพ่นสีแบบ DIY งานขนาดเล็ก เช่นงานพ่นสีโมเดล พ่นสีหมวกกันน็อค อุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นเล็กๆ ก็มักจะใช้ปั๊มลมออยฟรีหรือปั๊มลมเสียงเงียบ ขนาดถังลมประมาณ 50 ลิตร เพราะปั๊มลมออยฟรี จะมีน้ำปนเปื้อนออกมากับลมน้อยกว่าปั๊มลมลูกสูบและปั๊มลมโรตารี่ รวมถึงให้เสียงที่เงียบ ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน จึงเหมาะกับงานประเภท DIY มากกว่า
3.2 งานพ่นสีของชิ้นใหญ่ เช่นงานทำสีรถยนต์ ทำสีชิ้นส่วนต่างๆ จำเป็นต้องใช้ปั๊มลมที่ความจุถังลมเยอะ สามารถทำงานหรือพ่นสีต่อเนื่องได้ในระดับหนึ่ง ควรจะเริ่มต้นด้วยปั๊มลมลูกสูบหรือปั๊มลมสายพานขนาด 3 แรงม้า และความจุถังลม 250 ลิตร ขึ้นไป ในงานพ่นสีจะไม่ใช้แรงดันเยอะมาก จะใช้เพียงแค่ 6-8 บาร์ เท่านั้น
ที่สำคัญควรจะต้องมีตัวดักน้ำหรือ Air Filter เข้ามาช่วยเพื่อไม่ให้น้ำปนออกมากับสี เพราะถ้ามีน้ำปนเปื้อนเข้ามาเวลาพ่นสีก็จะเป็นเม็ดหยดน้ำ ทำให้สีไม่เรียบเนียน หลุดร่อนง่าย ถ้าหากเลือกปั๊มลมที่เล็กเกินไป เมื่อเราพ่นสีก็มักจะไม่มีความต่อเนื่อง พ่นๆ หยุดๆ จะทำให้ชั้นสีไม่เรียบเนียนสม่ำเสมอ หนาบางไม่เท่ากัน เป็นปัญหา เพราะฉะนั้น ควรเลือกปั๊มลมขนาดและความจุถังลมที่มากกว่าความต้องการใช้ ในระยะยาวแล้วคุ้มค่าแน่นอน
สรุป
ปั๊มลมแต่ละประเภท แต่ละขนาดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ปั๊มลมที่ตรงกับความต้องการของงาน และควรเลือกปั๊มลมที่สเปกสูงกว่าความต้องการอีกระดับนึง เพราะปกติแล้ว ปั๊มลมจะค่อยๆสึกหรอไปเรื่อยๆ จากการใช้งาน อีกทั้งยังช่วยถนอมอายุการใช้งานปั๊มลมอีกด้วย
ติดต่อสอบถามและปรึกษาระบบลมได้ที่
1. Hotline : 081-899-5566
2. Inbox : https://m.me/somaxcompressor
3. Line Official : @somax
4. E-Mail : telesales@siriwat1976.com